5 ธ.ค. 2553

พระราชดำรัสและพระบรมราชาโชวาท

      Posted in Uncategorized  by aekphop on September 3rd, 2009เกือบ 60 ปี แห่งการเสวยราชสมบัติของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสไว้มากมาย ที่ทรงแสดงความห่วงใยต่อปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทรงตักเตือนคนไทย รัฐบาลไทยในเรื่องการดำรงชีวิต ความซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ ดังตัวอย่างที่ได้อัญเชิญมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ คือ
      การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้น โดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นได้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดย
      ไม่ใช้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุล ในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด”ลองพิจารณาพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบ CEO
“… ท่านจะต้องปกครอง คำว่า ปกครองนี้ก็หมาย ความว่า จัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชนมีความเรียบร้อย มีความสามารถที่จะดำเนินชีวิตดีอย่างดี เพื่อให้ดำเนินชีวิตอย่างนั้นจะต้องมีความรู้ในทั้งหลักวิชาต่าง ๆ … ทั้งวิชาการปกครอง โดยหลักวิชาของรัฐศาสตร์ มีหลักวิชาของนิติศาสตร์ นอกจากนั้นก็มีหลักวิชาของการทำมาหากิน และหลักวิชาทางเศรษฐศาสตร์ 3 อย่างนี้ทิ้งไม่ได้ มีความรู้เก่งในทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ หรือ ก็แต่ละท่าน หรือแต่ละคนที่เป็นผู้มีความรู้ก็หากินได้ ทำมาหากินได้ หมายความว่า ทำงานและได้ค่าตอบแทน แต่ถ้าหากว่าท่านทำอยู่คนเดียว คือว่า ในด้านหลักวิชาเหล่านี้ก็จะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ในด้านอื่น และด้านความรู้ที่สำคัญก็คือ เกษตรศาสตร์ … เศรษฐศาสตร์…”
“… ผู้ว่าฯ หมายความว่า ว่าราชการ ราชการก็เป็นการของราชา…”
“… ท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด CEO เมื่อ CEO ตามที่เข้าใจเป็นผู้ที่สั่งการทำอะไรทำให้ได้ผล แต่เขาใช้ CEO เพราะนึกถึงการค้า ผู้ที่เป็น CEO จะทำเงินได้สร้างบริษัท แต่ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ไม่ใช่ทำเงินสร้างบริษัท ทำความเจริญสำหรับพื้นที่ ท้องที่ และโดยเฉพาะประชาชนได้มีความก้าวหน้า มีกินมีความสามารถที่จะทำมาหากินได้ อันนี้พูดอย่างนี้ท่านก็คงรู้สึกตัวว่าเป็นโอวาทหนักเหมือนกัน ที่ท่านมีหน้าที่ที่จะทำให้ประชากรในท้องที่มีความเจริญพอที่จะรวยขึ้นได้…”
“… อีกข้อหนึ่งของ CEO ข้อสุดท้ายคือประสานนั้นต้องประสานงานไม่ใช่ประสานงา โดยมากเอะอะอะไรก็ประสาน งา กัน แล้วก็มีการทุจริต ทำอย่างไรจึงจะปราบทุจริตได้ ปราบทุจริตจะว่าเป็นเรื่องของตำรวจ เรื่องของศาล เป็นเรื่องของพระไม่ใช่ เป็นเรื่องของผู้ว่า CEO อย่าให้ข้าราชการ ชั้นไหน ชั้นใด ข้าราชการหรือประชาชนมีการทุจริต ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง ที่เมืองไทยพังมาเพราะว่ามีทุจริต … ตอนนี้ที่บอกว่าเศรษฐกิจกำลังขึ้น ทุจริตกำลังขึ้น … 10 ปีเมืองไทยน่าจะเจริญ ทุจริตก็จะเจริญ เพราะฉะนั้นท่านต้องห้ามทุจริตไม่ให้ขึ้น แล้วท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ที่มีประสิทธิภาพ… ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ต้องเป็น คนที่สุจริต ทุจริตไม่ได้ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่ง ให้มีอันเป็น พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็น ถ้าไม่ทุจริต ถ้าสุจริตและมีความตั้งใจในธรรม ขอให้ต่ออายุได้ถึง 100 ปี ถ้าอายุมากแล้วก็แข็งแรง แล้วสุจริตประเทศไทยจะรอดพ้นอันตรายอย่างมาก …”

 “… ผู้ว่าฯ หมายความว่า ว่าราชการ ราชการก็เป็นการของราชา…”“… ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอดแต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้ารักษาความ พออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยอดได้ ประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้กำลังตก กำลังแย่กำลังยุ่ง เพราะแสวงหาความยิ่งยวดทั้งในอำนาจ ทั้งในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทางอุตสาหกรรม ทางลัทธิ ฉะนั้นถ้าทุกท่าน…ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกับดีพอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวร ที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล…”

ลองพิจารณาพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบ CEO

“… ท่านจะต้องปกครอง คำว่า ปกครองนี้ก็หมาย ความว่า จัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชนมีความเรียบร้อย มีความสามารถที่จะดำเนินชีวิตดีอย่างดี เพื่อให้ดำเนินชีวิตอย่างนั้นจะต้องมีความรู้ในทั้งหลักวิชาต่าง ๆ … ทั้งวิชาการปกครอง โดยหลักวิชาของรัฐศาสตร์ มีหลักวิชาของนิติศาสตร์ นอกจากนั้นก็มีหลักวิชาของการทำมาหากิน และหลักวิชาทางเศรษฐศาสตร์ 3 อย่างนี้ทิ้งไม่ได้ มีความรู้เก่งในทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ หรือ ก็แต่ละท่าน หรือแต่ละคนที่เป็นผู้มีความรู้ก็หากินได้ ทำมาหากินได้ หมายความว่า ทำงานและได้ค่าตอบแทน แต่ถ้าหากว่าท่านทำอยู่คนเดียว คือว่า ในด้านหลักวิชาเหล่านี้ก็จะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ในด้านอื่น และด้านความรู้ที่สำคัญก็คือ เกษตรศาสตร์ … เศรษฐศาสตร์…”

“… ท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด CEO เมื่อ CEO ตามที่เข้าใจเป็นผู้ที่สั่งการทำอะไรทำให้ได้ผล แต่เขาใช้ CEO เพราะนึกถึงการค้า ผู้ที่เป็น CEO จะทำเงินได้สร้างบริษัท แต่ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ไม่ใช่ทำเงินสร้างบริษัท ทำความเจริญสำหรับพื้นที่ ท้องที่ และโดยเฉพาะประชาชนได้มีความก้าวหน้า มีกินมีความสามารถที่จะทำมาหากินได้ อันนี้พูดอย่างนี้ท่านก็คงรู้สึกตัวว่าเป็นโอวาทหนักเหมือนกัน ที่ท่านมีหน้าที่ที่จะทำให้ประชากรในท้องที่มีความเจริญพอที่จะรวยขึ้นได้…”

“… อีกข้อหนึ่งของ CEO ข้อสุดท้ายคือประสานนั้นต้องประสานงานไม่ใช่ประสานงา โดยมากเอะอะอะไรก็ประสาน งา กัน แล้วก็มีการทุจริต ทำอย่างไรจึงจะปราบทุจริตได้ ปราบทุจริตจะว่าเป็นเรื่องของตำรวจ เรื่องของศาล เป็นเรื่องของพระไม่ใช่ เป็นเรื่องของผู้ว่า CEO อย่าให้ข้าราชการ ชั้นไหน ชั้นใด ข้าราชการหรือประชาชนมีการทุจริต ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง ที่เมืองไทยพังมาเพราะว่ามีทุจริต … ตอนนี้ที่บอกว่าเศรษฐกิจกำลังขึ้น ทุจริตกำลังขึ้น … 10 ปีเมืองไทยน่าจะเจริญ ทุจริตก็จะเจริญ เพราะฉะนั้นท่านต้องห้ามทุจริตไม่ให้ขึ้น แล้วท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ที่มีประสิทธิภาพ… ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ต้องเป็น คนที่สุจริต ทุจริตไม่ได้ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่ง ให้มีอันเป็น พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็น ถ้าไม่ทุจริต ถ้าสุจริตและมีความตั้งใจในธรรม ขอให้ต่ออายุได้ถึง 100 ปี ถ้าอายุมากแล้วก็แข็งแรง แล้วสุจริตประเทศไทยจะรอดพ้นอันตรายอย่างมาก …”


พระราชดำรัสในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2535 ( วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2535)

  … คนไทย แม้จะมีนิสัยรักความสะดวกสบาย และ มักทำตามใจตัวกันเป็นปรกติ แต่ในส่วนลึก ก็เป็นคนมีเหตุผล มีวินัย มีใจจริงและความสำนึกในชาติบ้านเมืองอยู่ด้วยกันแทบทุกตัวคน เราจึงรวมกันอยู่ได้เหนียวแน่น มีชาติมีประเทศอันตั้งมั่นเป็นอิสรเสรีมาช้านาน ทั้งสามารถสร้าง สรรค์ความดีความเจริญต่าง ๆ ไว้เป็นสมบัติของชาติมากมาย ปัจจุบันนี้ รู้สึกว่าบ้านเมืองมีปัญหาและความขัดข้องเกิด ขึ้นไม่สร่างซาเกือบทุกวงการ เป็นเครื่องบ่งบอกชัดเจนว่า ถึงเวลาแล้ว ที่ทุกคนทุกฝ่ายจะต้องลดความถือดีและการทำตามใจตัวลง แล้วหันมาหาเหตุผล ความถูกต้องและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมกันอย่างจริงจัง เพื่อกำจัดอคติ และสร้างเสริมความเมตตาสามัคคีในกันและกัน จักได้สามารถร่วมกันเร่งรัดปฏิบัติสรรพกิจการงานให้ประสานสอดคล้อง และปรองดองเกื้อกูลกัน ให้สัมฤทธิ์ประโยชน์สูงสุดในการธำรงรักษาอิสรภาพ อธิปไตย และความเป็นไทย ให้ยั่งยืน มั่นคงอยู่ตลอดไป…”
คุณวินี เชียงเถียร ได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง วาทวิเคราะห์พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ( พ. ศ. 2493 - 2542) ไว้อย่างน่าสนใจ กล่าวคือ

พระราชดำรัสในช่วง พ . ศ. 2493 – 2499 ทรงเน้นเรื่องคุณธรรม ความสามัคคี และความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของการเมืองขณะนั้นที่มีการแย่งชิงอำนาจกัน

พระราชดำรัสในช่วง พ . ศ. 2500 – 2516 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ครองอำนาจจนถึง 14 ตุลาคม 2516 และถูกคอมมิวนิสต์แทรกซึมบ่อนทำลาย ทำให้ทรงเน้นเรื่องคุณธรรม ทรงกล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ การต้อนรับพระราชอาคันตุกะ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ และ ภัยคอมมิวนิสต์ ดังตัวอย่างพระราชดำรัสในวโรกาสวันขึ้นปีใหม่ พ . ศ. 2509 ว่า


พระราชดำรัสช่วง พ . ศ. 2519 – 2531 ก็ยังทรงเน้นเรื่องคุณธรรม เน้นความสามัคคี การทำดีและเน้นการพัฒนา เน้นการแก้ปัญหาน้ำท่วม ธนาคารข้าวและธนาคารโคกระบือ การช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน การพัฒนาชนบท
พระราชดำรัสในช่วง พ . ศ. 2531 – 2542 ก็ยังทรงเน้นเรื่องคุณธรรม ความสามัคคี การละเว้นการทุจริต ความเพียร ความอดทน และเรื่องการพัฒนาประเทศ เน้นปัญหาน้ำท่วมและโครงการพระราชดำริต่าง ๆ

  การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา
เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้น โดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นได้รวดเร็วแต่ประการเดียว
โดยไม่ใช้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุล ในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น