5 ธ.ค. 2553

ทศพิธราชธรรม ๑๐

 
          ทศพิธราชธรรม ๑๐ คือธรรมสำหรับพระราชา ในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร ดังพระราชกรณียกิจที่ปรากฎ ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. ทานัง หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครอง แผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์
๒. ศีลัง หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ
๓. ปริจาคัง หรือการบริจาค อันได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า คือ เมื่อถึง คราวก็สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนม์ชีพ เพื่อรักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของ พระองค์
๔. อาชชะวัง หรือความซื่อตรง อันได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อ พระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร
๕. มัททะวัง หรือทรงเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า
๖. ตะปัง หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน
๗. อักโกธะ หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้
๘. อะวีหิสัญจะ คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร
๙. ขันติญจะ คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย
๑๐. อะวิโรธะนัง คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ ๔ ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย

แนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง


“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย

ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน
และขอให้ทุกคนมีความปรารถนา ที่จะให้เมืองไทย
พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน
ตั้งปณิธานในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน
ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน
มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ
ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๗



“...ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในหลายประเทศเปลี่ยนแปลงไป
กล่าวคือ การทุ่มเทสร้างเครื่องจักรกลอันก้าวหน้า
และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นใช้ในการผลิตทำให้ผลผลิต
ทางอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นรวดเร็วและมากมาย
จนอาจถึงขั้นฟุ่มเฟือย พร้อมกันนั้นก็ทำให้คนว่างงานลง
เพราะถูกเครื่องจักรกล แย่งไปทำ เป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยาก
ตกต่ำทางเศรษฐกิจขึ้น เพราะคนที่ว่างงานยากจนลง
และผู้ผลิตก็ขาดทุนเพราะสินค้าขายไม่ออก จึงน่าจะต้อง
ดัดแปลงแนวคิดแนวปฏิบัติในการส่งเสริมความเจริญ
ด้านอุตสาหกรรมไปบ้างให้สมดุลกับด้านอื่นๆ เพื่อความอยู่รอด...”

พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘



“...ตามปกติคนเราชอบดูสถานการณ์ในทางดี ที่เขาเรียกว่าเล็งผลเลิศ
ก็เห็นว่าประเทศไทยเรานี่ก้าวหน้าดี การเงิน การอุตสาหกรรม
การค้าดีมีกำไร อีกทางหนึ่งก็ต้องบอกว่า เรากำลังเสื่อมลงไป
ส่วนใหญ่ทฤษฎีว่า ถ้ามีเงินเท่านั้น ๆ มีการกู้เท่านั้น ๆ หมายความว่า
เศรษฐกิจก้าวหน้าแล้วก็ ประเทศก็เจริญมีหวังว่าจะเป็นมหาอำนาจ
ขอโทษเลยต้องเตือนเขาว่า จริงตัวเลขดี แต่ว่าถ้าเราไม่ระมัดระวัง
ในความต้องการพื้นฐานของประชาชนนั้น ไม่มีทาง...”

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖



“...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน
แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง...

...ความพอเพียงนี้ ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว
จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้อง
มีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ
ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก
อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัยจริงอาจจะล้าสมัย
คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่า
เป็นเศรษฐกิจการค้าไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา
แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าผลิตให้พอเพียง ได้...

...ถ้า สามารถที่จะเปลี่ยนไป ทำให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง
ไม่ต้องทั้งหมดแม้แต่ครึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถอยู่ได้
การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่าย ๆ โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อน
แต่ถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็สามารถที่จะแก้ไขได้...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐



“...คำว่าพอเพียง มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก
ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้ของเท่านั้น แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน...
พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง...”

“...พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้
แต่ว่าพอแม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข
ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ...”

“...Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้
ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง...”

“...คน เราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย
ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด
อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจมีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง
หมายความว่า พอประมาณไม่สุดโต่งไม่โลภอย่างมาก
คนเราก็อยู่เป็นสุข...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑



“...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกินพอมีพอกินนี้
ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินก็ใช้ได้
ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้น
ก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกินบางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ
ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑



“...เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเขาตีความว่าเป็นเศรษฐกิจชุมชน
หมายความว่าให้พอเพียงในหมู่บ้าน หรือในท้องถิ่น ให้สามารถที่จะมีพอกิน
เริ่มด้วย พอมี พอกิน พอมีพอกินนี้ได้พูดมาหลายปี ๑๐ กว่าปีมาแล้ว
ให้พอมีพอกิน แต่ว่าพอมีพอกินนี้ เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจ
เมื่อปีที่แล้วบอกว่า ถ้าพอมีพอกิน คือ พอมีพอกินของตัวเองนั้น
ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจสมัยหิน
สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกันแต่ว่าค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมา...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒



“...เศรษฐกิจ พอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีก แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า
Sufficiency Economy ภาษาไทยก็ต่อว่าไม่มี Sufficiency Economy
แต่ว่าเป็นคำใหม่ของเราก็ได้ ก็หมายความว่า ประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว
ทำอะไรด้วยความอะลุ้มอล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจ
พอเพียงแล้วทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติยากที่สุด...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๓



“...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสม
กับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาทขึ้นไป
เป็น ๒ หมื่น ๓ หมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียง
ไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือ ทำเป็น Self-Sufficiency
มันไม่ใช่ความหมาย ไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิด คือ
เป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดู TV
ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อ TV ดู เขาต้องการดูเพื่อสนุกสนาน
ในหมู่บ้านไกล ๆ ที่ฉันไป เขามี TV ดู แต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า
แต่ถ้า Sufficiency นั้น มี TV เขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือน
คนไม่มีสตางค์ไปตัด Suit และยังใส่ Necktie Versace อันนี้ก็เกินไป...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทาน ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข
วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔



การประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแนวพระราชดำริ เรื่อง
เศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้นั้น
กระชับและชัดเจนยิ่ง
นอกจากนี้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อ
ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ (กปร.) ยังได้กล่าวสรุป
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ดังนี้
“เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง
(Self-Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐาน
ทางด้านเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน
คือให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ
ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว”
จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย
มีความหมายที่ ชัดเจน ไม่ยากแก่การรับรู้และการนำไปปฏิบัติ ดังจะเห็น
เป็นรูปธรรมที่ปรากฏชัดเจนในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ที่เกิดผลสำเร็จแล้วมากมาย

พระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

        ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาอยู่ในท่ามกลางมหาสมาคมพร้อมพรั่งด้วย
บุคคลจากทุกสถาบันในชาติตลอดจนประชาชนชาวไทย ขอขอบใจในคำอวยพร
และการเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ที่ทุกคนตั้งใจจัดให้ข้าพเจ้าเป็นพิเศษ

 

พระราชดำรัสและพระบรมราชาโชวาท

      Posted in Uncategorized  by aekphop on September 3rd, 2009เกือบ 60 ปี แห่งการเสวยราชสมบัติของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสไว้มากมาย ที่ทรงแสดงความห่วงใยต่อปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทรงตักเตือนคนไทย รัฐบาลไทยในเรื่องการดำรงชีวิต ความซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ ดังตัวอย่างที่ได้อัญเชิญมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ คือ
      การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้น โดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นได้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดย
      ไม่ใช้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุล ในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด”ลองพิจารณาพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบ CEO
“… ท่านจะต้องปกครอง คำว่า ปกครองนี้ก็หมาย ความว่า จัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชนมีความเรียบร้อย มีความสามารถที่จะดำเนินชีวิตดีอย่างดี เพื่อให้ดำเนินชีวิตอย่างนั้นจะต้องมีความรู้ในทั้งหลักวิชาต่าง ๆ … ทั้งวิชาการปกครอง โดยหลักวิชาของรัฐศาสตร์ มีหลักวิชาของนิติศาสตร์ นอกจากนั้นก็มีหลักวิชาของการทำมาหากิน และหลักวิชาทางเศรษฐศาสตร์ 3 อย่างนี้ทิ้งไม่ได้ มีความรู้เก่งในทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ หรือ ก็แต่ละท่าน หรือแต่ละคนที่เป็นผู้มีความรู้ก็หากินได้ ทำมาหากินได้ หมายความว่า ทำงานและได้ค่าตอบแทน แต่ถ้าหากว่าท่านทำอยู่คนเดียว คือว่า ในด้านหลักวิชาเหล่านี้ก็จะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ในด้านอื่น และด้านความรู้ที่สำคัญก็คือ เกษตรศาสตร์ … เศรษฐศาสตร์…”
“… ผู้ว่าฯ หมายความว่า ว่าราชการ ราชการก็เป็นการของราชา…”
“… ท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด CEO เมื่อ CEO ตามที่เข้าใจเป็นผู้ที่สั่งการทำอะไรทำให้ได้ผล แต่เขาใช้ CEO เพราะนึกถึงการค้า ผู้ที่เป็น CEO จะทำเงินได้สร้างบริษัท แต่ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ไม่ใช่ทำเงินสร้างบริษัท ทำความเจริญสำหรับพื้นที่ ท้องที่ และโดยเฉพาะประชาชนได้มีความก้าวหน้า มีกินมีความสามารถที่จะทำมาหากินได้ อันนี้พูดอย่างนี้ท่านก็คงรู้สึกตัวว่าเป็นโอวาทหนักเหมือนกัน ที่ท่านมีหน้าที่ที่จะทำให้ประชากรในท้องที่มีความเจริญพอที่จะรวยขึ้นได้…”
“… อีกข้อหนึ่งของ CEO ข้อสุดท้ายคือประสานนั้นต้องประสานงานไม่ใช่ประสานงา โดยมากเอะอะอะไรก็ประสาน งา กัน แล้วก็มีการทุจริต ทำอย่างไรจึงจะปราบทุจริตได้ ปราบทุจริตจะว่าเป็นเรื่องของตำรวจ เรื่องของศาล เป็นเรื่องของพระไม่ใช่ เป็นเรื่องของผู้ว่า CEO อย่าให้ข้าราชการ ชั้นไหน ชั้นใด ข้าราชการหรือประชาชนมีการทุจริต ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง ที่เมืองไทยพังมาเพราะว่ามีทุจริต … ตอนนี้ที่บอกว่าเศรษฐกิจกำลังขึ้น ทุจริตกำลังขึ้น … 10 ปีเมืองไทยน่าจะเจริญ ทุจริตก็จะเจริญ เพราะฉะนั้นท่านต้องห้ามทุจริตไม่ให้ขึ้น แล้วท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ที่มีประสิทธิภาพ… ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ต้องเป็น คนที่สุจริต ทุจริตไม่ได้ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่ง ให้มีอันเป็น พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็น ถ้าไม่ทุจริต ถ้าสุจริตและมีความตั้งใจในธรรม ขอให้ต่ออายุได้ถึง 100 ปี ถ้าอายุมากแล้วก็แข็งแรง แล้วสุจริตประเทศไทยจะรอดพ้นอันตรายอย่างมาก …”

 “… ผู้ว่าฯ หมายความว่า ว่าราชการ ราชการก็เป็นการของราชา…”“… ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอดแต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้ารักษาความ พออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยอดได้ ประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้กำลังตก กำลังแย่กำลังยุ่ง เพราะแสวงหาความยิ่งยวดทั้งในอำนาจ ทั้งในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทางอุตสาหกรรม ทางลัทธิ ฉะนั้นถ้าทุกท่าน…ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกับดีพอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวร ที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล…”

ลองพิจารณาพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบ CEO

“… ท่านจะต้องปกครอง คำว่า ปกครองนี้ก็หมาย ความว่า จัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชนมีความเรียบร้อย มีความสามารถที่จะดำเนินชีวิตดีอย่างดี เพื่อให้ดำเนินชีวิตอย่างนั้นจะต้องมีความรู้ในทั้งหลักวิชาต่าง ๆ … ทั้งวิชาการปกครอง โดยหลักวิชาของรัฐศาสตร์ มีหลักวิชาของนิติศาสตร์ นอกจากนั้นก็มีหลักวิชาของการทำมาหากิน และหลักวิชาทางเศรษฐศาสตร์ 3 อย่างนี้ทิ้งไม่ได้ มีความรู้เก่งในทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ หรือ ก็แต่ละท่าน หรือแต่ละคนที่เป็นผู้มีความรู้ก็หากินได้ ทำมาหากินได้ หมายความว่า ทำงานและได้ค่าตอบแทน แต่ถ้าหากว่าท่านทำอยู่คนเดียว คือว่า ในด้านหลักวิชาเหล่านี้ก็จะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ในด้านอื่น และด้านความรู้ที่สำคัญก็คือ เกษตรศาสตร์ … เศรษฐศาสตร์…”

“… ท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด CEO เมื่อ CEO ตามที่เข้าใจเป็นผู้ที่สั่งการทำอะไรทำให้ได้ผล แต่เขาใช้ CEO เพราะนึกถึงการค้า ผู้ที่เป็น CEO จะทำเงินได้สร้างบริษัท แต่ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ไม่ใช่ทำเงินสร้างบริษัท ทำความเจริญสำหรับพื้นที่ ท้องที่ และโดยเฉพาะประชาชนได้มีความก้าวหน้า มีกินมีความสามารถที่จะทำมาหากินได้ อันนี้พูดอย่างนี้ท่านก็คงรู้สึกตัวว่าเป็นโอวาทหนักเหมือนกัน ที่ท่านมีหน้าที่ที่จะทำให้ประชากรในท้องที่มีความเจริญพอที่จะรวยขึ้นได้…”

“… อีกข้อหนึ่งของ CEO ข้อสุดท้ายคือประสานนั้นต้องประสานงานไม่ใช่ประสานงา โดยมากเอะอะอะไรก็ประสาน งา กัน แล้วก็มีการทุจริต ทำอย่างไรจึงจะปราบทุจริตได้ ปราบทุจริตจะว่าเป็นเรื่องของตำรวจ เรื่องของศาล เป็นเรื่องของพระไม่ใช่ เป็นเรื่องของผู้ว่า CEO อย่าให้ข้าราชการ ชั้นไหน ชั้นใด ข้าราชการหรือประชาชนมีการทุจริต ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง ที่เมืองไทยพังมาเพราะว่ามีทุจริต … ตอนนี้ที่บอกว่าเศรษฐกิจกำลังขึ้น ทุจริตกำลังขึ้น … 10 ปีเมืองไทยน่าจะเจริญ ทุจริตก็จะเจริญ เพราะฉะนั้นท่านต้องห้ามทุจริตไม่ให้ขึ้น แล้วท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ที่มีประสิทธิภาพ… ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ต้องเป็น คนที่สุจริต ทุจริตไม่ได้ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่ง ให้มีอันเป็น พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็น ถ้าไม่ทุจริต ถ้าสุจริตและมีความตั้งใจในธรรม ขอให้ต่ออายุได้ถึง 100 ปี ถ้าอายุมากแล้วก็แข็งแรง แล้วสุจริตประเทศไทยจะรอดพ้นอันตรายอย่างมาก …”


พระราชดำรัสในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2535 ( วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2535)

  … คนไทย แม้จะมีนิสัยรักความสะดวกสบาย และ มักทำตามใจตัวกันเป็นปรกติ แต่ในส่วนลึก ก็เป็นคนมีเหตุผล มีวินัย มีใจจริงและความสำนึกในชาติบ้านเมืองอยู่ด้วยกันแทบทุกตัวคน เราจึงรวมกันอยู่ได้เหนียวแน่น มีชาติมีประเทศอันตั้งมั่นเป็นอิสรเสรีมาช้านาน ทั้งสามารถสร้าง สรรค์ความดีความเจริญต่าง ๆ ไว้เป็นสมบัติของชาติมากมาย ปัจจุบันนี้ รู้สึกว่าบ้านเมืองมีปัญหาและความขัดข้องเกิด ขึ้นไม่สร่างซาเกือบทุกวงการ เป็นเครื่องบ่งบอกชัดเจนว่า ถึงเวลาแล้ว ที่ทุกคนทุกฝ่ายจะต้องลดความถือดีและการทำตามใจตัวลง แล้วหันมาหาเหตุผล ความถูกต้องและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมกันอย่างจริงจัง เพื่อกำจัดอคติ และสร้างเสริมความเมตตาสามัคคีในกันและกัน จักได้สามารถร่วมกันเร่งรัดปฏิบัติสรรพกิจการงานให้ประสานสอดคล้อง และปรองดองเกื้อกูลกัน ให้สัมฤทธิ์ประโยชน์สูงสุดในการธำรงรักษาอิสรภาพ อธิปไตย และความเป็นไทย ให้ยั่งยืน มั่นคงอยู่ตลอดไป…”
คุณวินี เชียงเถียร ได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง วาทวิเคราะห์พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ( พ. ศ. 2493 - 2542) ไว้อย่างน่าสนใจ กล่าวคือ

พระราชดำรัสในช่วง พ . ศ. 2493 – 2499 ทรงเน้นเรื่องคุณธรรม ความสามัคคี และความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของการเมืองขณะนั้นที่มีการแย่งชิงอำนาจกัน

พระราชดำรัสในช่วง พ . ศ. 2500 – 2516 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ครองอำนาจจนถึง 14 ตุลาคม 2516 และถูกคอมมิวนิสต์แทรกซึมบ่อนทำลาย ทำให้ทรงเน้นเรื่องคุณธรรม ทรงกล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ การต้อนรับพระราชอาคันตุกะ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ และ ภัยคอมมิวนิสต์ ดังตัวอย่างพระราชดำรัสในวโรกาสวันขึ้นปีใหม่ พ . ศ. 2509 ว่า


พระราชดำรัสช่วง พ . ศ. 2519 – 2531 ก็ยังทรงเน้นเรื่องคุณธรรม เน้นความสามัคคี การทำดีและเน้นการพัฒนา เน้นการแก้ปัญหาน้ำท่วม ธนาคารข้าวและธนาคารโคกระบือ การช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน การพัฒนาชนบท
พระราชดำรัสในช่วง พ . ศ. 2531 – 2542 ก็ยังทรงเน้นเรื่องคุณธรรม ความสามัคคี การละเว้นการทุจริต ความเพียร ความอดทน และเรื่องการพัฒนาประเทศ เน้นปัญหาน้ำท่วมและโครงการพระราชดำริต่าง ๆ

  การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา
เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้น โดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นได้รวดเร็วแต่ประการเดียว
โดยไม่ใช้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุล ในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด”