13 ธ.ค. 2553


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

Bhumibol Adulyadej.jpg
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบรมนามาภิไธยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
พระปรมาภิไธยLoudspeaker.svg พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร [1]
พระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
บรมราชาภิเษก5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
รัชกาลก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
วัดประจำรัชกาลวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
พระพุทธรูป
ประจำพระชนมวาร
พระพุทธรูปปางอภัยมุทรา พุทธลักษณะสุโขทัย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — ) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันแห่งประเทศไทย และพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะนี้ จึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเสวยราชย์ยาวนานที่สุดในโลกที่มีพระชนมชีพอยู่ และยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย[2]
พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยและสากลเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระองค์ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 [3]พระองค์ทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ บทประพันธ์งานพระราชนิพนธ์ งานดนตรีจำนวนมาก และโครงการในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่ โครงการพระราชดำริต่างๆ กว่า 3,000 โครงการ มูลนิธิราชประชาสมาสัย มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ มูลนิธิสายใจไทย มูลนิธิชัยพัฒนา ทุนเล่าเรียนหลวงในมูลนิธิอานันทมหิดล[4] เป็นต้น ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศและทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย พระองค์ทรงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทเอกชนที่สำคัญหลายแห่ง ในปี 2553 นิตยสารฟอบส์ประเมินว่า พระองค์มีพระราชทรัพย์ รวมถึงที่อยู่ในการบริหารจัดการของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นมูลค่ามากกว่าเก้าแสนหกหมื่นล้านบาท และด้วยเหตุนี้ ทรงได้รับการจัดอันดับให้เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก[5][6] สินทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนมากได้พระราชทานแก่โครงการในพระบรมราชูปถัมภ์ และทุกครั้งที่ประเทศไทยประสบเหตุภัยภิบัติ พระองค์จะพระราชทานพระราชทรัพย์ผ่านมูลนิธิต่างๆ โดยเฉพาะมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยเสมอมา
พระองค์แปรพระราชฐานจากที่ประทับพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไปประทับอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราชนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 ตราบปัจจุบัน อันเนื่องมาจากพระโรคไข้หวัดและปัปผาสะอักเสบ[7] ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้น ข่าวลือเกี่ยวกับพระอาการประชวรยังให้ตลาดหุ้นไทยร่วงลงอย่างสาหัส[8]

พระนาม

พระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า "Bhumibala Aduladeja" ซึ่งในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลเดช" โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกดตราบปัจจุบัน [9][10]
ทั้งนี้ เดิมที ด้วยเหตุที่ได้รับตัวโรมันว่า "Bhumibala" สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงเข้าพระทัยว่า ได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า "ภูมิบาล" ต่อมาจึงเปลี่ยนการสะกดเป็น "Bhumibol"[9]

ความหมายของพระนาม

  • ปรมินทร - มาจากการสนธิคำระหว่าง "ปรม (ป.,ส. : อย่างยิ่ง, ที่สุด) + อินฺทฺร (ส. , ป. อินฺท : ผู้เป็นใหญ่) " หมายความว่า "ผู้เป็นใหญ่ที่สุด" หรือ "ผู้เป็นใหญ่อย่างยิ่ง"
  • ภูมิพล - ภูมิ หมายความว่า "แผ่นดิน" และ พล หมายความว่า "พลัง" รวมกันแล้วหมายถึง "พลังแห่งแผ่นดิน"
  • อดุลยเดช - อดุลย หมายความว่า "ไม่อาจเทียบได้" และ เดช หมายความว่า "อำนาจ" รวมกันแล้วหมายถึง "ผู้มีอำนาจที่ไม่อาจเทียบได้

พระราชประวัติในหลวง ฉบับการ์ตูน

ถวายพระพรออนไลน์ วันพ่อ ปี 2553

ผลการค้นหาคืนวันพ่อปี 53 ริมฝั่งเจ้าพระยา