13 ธ.ค. 2553


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

Bhumibol Adulyadej.jpg
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบรมนามาภิไธยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
พระปรมาภิไธยLoudspeaker.svg พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร [1]
พระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
บรมราชาภิเษก5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
รัชกาลก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
วัดประจำรัชกาลวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
พระพุทธรูป
ประจำพระชนมวาร
พระพุทธรูปปางอภัยมุทรา พุทธลักษณะสุโขทัย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — ) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันแห่งประเทศไทย และพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะนี้ จึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเสวยราชย์ยาวนานที่สุดในโลกที่มีพระชนมชีพอยู่ และยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย[2]
พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยและสากลเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระองค์ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 [3]พระองค์ทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ บทประพันธ์งานพระราชนิพนธ์ งานดนตรีจำนวนมาก และโครงการในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่ โครงการพระราชดำริต่างๆ กว่า 3,000 โครงการ มูลนิธิราชประชาสมาสัย มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ มูลนิธิสายใจไทย มูลนิธิชัยพัฒนา ทุนเล่าเรียนหลวงในมูลนิธิอานันทมหิดล[4] เป็นต้น ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศและทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย พระองค์ทรงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทเอกชนที่สำคัญหลายแห่ง ในปี 2553 นิตยสารฟอบส์ประเมินว่า พระองค์มีพระราชทรัพย์ รวมถึงที่อยู่ในการบริหารจัดการของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นมูลค่ามากกว่าเก้าแสนหกหมื่นล้านบาท และด้วยเหตุนี้ ทรงได้รับการจัดอันดับให้เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก[5][6] สินทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนมากได้พระราชทานแก่โครงการในพระบรมราชูปถัมภ์ และทุกครั้งที่ประเทศไทยประสบเหตุภัยภิบัติ พระองค์จะพระราชทานพระราชทรัพย์ผ่านมูลนิธิต่างๆ โดยเฉพาะมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยเสมอมา
พระองค์แปรพระราชฐานจากที่ประทับพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไปประทับอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราชนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 ตราบปัจจุบัน อันเนื่องมาจากพระโรคไข้หวัดและปัปผาสะอักเสบ[7] ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้น ข่าวลือเกี่ยวกับพระอาการประชวรยังให้ตลาดหุ้นไทยร่วงลงอย่างสาหัส[8]

พระนาม

พระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า "Bhumibala Aduladeja" ซึ่งในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลเดช" โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกดตราบปัจจุบัน [9][10]
ทั้งนี้ เดิมที ด้วยเหตุที่ได้รับตัวโรมันว่า "Bhumibala" สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงเข้าพระทัยว่า ได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า "ภูมิบาล" ต่อมาจึงเปลี่ยนการสะกดเป็น "Bhumibol"[9]

ความหมายของพระนาม

  • ปรมินทร - มาจากการสนธิคำระหว่าง "ปรม (ป.,ส. : อย่างยิ่ง, ที่สุด) + อินฺทฺร (ส. , ป. อินฺท : ผู้เป็นใหญ่) " หมายความว่า "ผู้เป็นใหญ่ที่สุด" หรือ "ผู้เป็นใหญ่อย่างยิ่ง"
  • ภูมิพล - ภูมิ หมายความว่า "แผ่นดิน" และ พล หมายความว่า "พลัง" รวมกันแล้วหมายถึง "พลังแห่งแผ่นดิน"
  • อดุลยเดช - อดุลย หมายความว่า "ไม่อาจเทียบได้" และ เดช หมายความว่า "อำนาจ" รวมกันแล้วหมายถึง "ผู้มีอำนาจที่ไม่อาจเทียบได้

พระราชประวัติในหลวง ฉบับการ์ตูน

ถวายพระพรออนไลน์ วันพ่อ ปี 2553

ผลการค้นหาคืนวันพ่อปี 53 ริมฝั่งเจ้าพระยา























9 ธ.ค. 2553

กลอนวันพ่อ เพลงวันพ่อ

วันพ่อ 5 ธันวามหาราช วันพ่อแห่งชาติ กลอนวันพ่อ เพลงวันพ่อ เพลงพ่อ เพลงเกี่ยวกับพ่อ



วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต
นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม


[เพลงพ่อ เพลงเกี่ยวกับพ่อ เพลงวันพ่อ คลิกที่นี่ ] [กลอน กลอนวันพ่อ กลอนพ่อ กลอนสำหรับพ่อ คลิกที่นี่]


5 ธ.ค. 2553

ทศพิธราชธรรม ๑๐

 
          ทศพิธราชธรรม ๑๐ คือธรรมสำหรับพระราชา ในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร ดังพระราชกรณียกิจที่ปรากฎ ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. ทานัง หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครอง แผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์
๒. ศีลัง หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ
๓. ปริจาคัง หรือการบริจาค อันได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า คือ เมื่อถึง คราวก็สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนม์ชีพ เพื่อรักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของ พระองค์
๔. อาชชะวัง หรือความซื่อตรง อันได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อ พระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร
๕. มัททะวัง หรือทรงเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า
๖. ตะปัง หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน
๗. อักโกธะ หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้
๘. อะวีหิสัญจะ คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร
๙. ขันติญจะ คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย
๑๐. อะวิโรธะนัง คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ ๔ ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย

แนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง


“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย

ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน
และขอให้ทุกคนมีความปรารถนา ที่จะให้เมืองไทย
พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน
ตั้งปณิธานในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน
ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน
มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ
ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๗



“...ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในหลายประเทศเปลี่ยนแปลงไป
กล่าวคือ การทุ่มเทสร้างเครื่องจักรกลอันก้าวหน้า
และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นใช้ในการผลิตทำให้ผลผลิต
ทางอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นรวดเร็วและมากมาย
จนอาจถึงขั้นฟุ่มเฟือย พร้อมกันนั้นก็ทำให้คนว่างงานลง
เพราะถูกเครื่องจักรกล แย่งไปทำ เป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยาก
ตกต่ำทางเศรษฐกิจขึ้น เพราะคนที่ว่างงานยากจนลง
และผู้ผลิตก็ขาดทุนเพราะสินค้าขายไม่ออก จึงน่าจะต้อง
ดัดแปลงแนวคิดแนวปฏิบัติในการส่งเสริมความเจริญ
ด้านอุตสาหกรรมไปบ้างให้สมดุลกับด้านอื่นๆ เพื่อความอยู่รอด...”

พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘



“...ตามปกติคนเราชอบดูสถานการณ์ในทางดี ที่เขาเรียกว่าเล็งผลเลิศ
ก็เห็นว่าประเทศไทยเรานี่ก้าวหน้าดี การเงิน การอุตสาหกรรม
การค้าดีมีกำไร อีกทางหนึ่งก็ต้องบอกว่า เรากำลังเสื่อมลงไป
ส่วนใหญ่ทฤษฎีว่า ถ้ามีเงินเท่านั้น ๆ มีการกู้เท่านั้น ๆ หมายความว่า
เศรษฐกิจก้าวหน้าแล้วก็ ประเทศก็เจริญมีหวังว่าจะเป็นมหาอำนาจ
ขอโทษเลยต้องเตือนเขาว่า จริงตัวเลขดี แต่ว่าถ้าเราไม่ระมัดระวัง
ในความต้องการพื้นฐานของประชาชนนั้น ไม่มีทาง...”

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖



“...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน
แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง...

...ความพอเพียงนี้ ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว
จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้อง
มีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ
ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก
อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัยจริงอาจจะล้าสมัย
คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่า
เป็นเศรษฐกิจการค้าไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา
แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าผลิตให้พอเพียง ได้...

...ถ้า สามารถที่จะเปลี่ยนไป ทำให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง
ไม่ต้องทั้งหมดแม้แต่ครึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถอยู่ได้
การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่าย ๆ โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อน
แต่ถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็สามารถที่จะแก้ไขได้...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐



“...คำว่าพอเพียง มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก
ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้ของเท่านั้น แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน...
พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง...”

“...พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้
แต่ว่าพอแม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข
ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ...”

“...Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้
ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง...”

“...คน เราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย
ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด
อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจมีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง
หมายความว่า พอประมาณไม่สุดโต่งไม่โลภอย่างมาก
คนเราก็อยู่เป็นสุข...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑



“...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกินพอมีพอกินนี้
ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินก็ใช้ได้
ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้น
ก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกินบางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ
ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑



“...เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเขาตีความว่าเป็นเศรษฐกิจชุมชน
หมายความว่าให้พอเพียงในหมู่บ้าน หรือในท้องถิ่น ให้สามารถที่จะมีพอกิน
เริ่มด้วย พอมี พอกิน พอมีพอกินนี้ได้พูดมาหลายปี ๑๐ กว่าปีมาแล้ว
ให้พอมีพอกิน แต่ว่าพอมีพอกินนี้ เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจ
เมื่อปีที่แล้วบอกว่า ถ้าพอมีพอกิน คือ พอมีพอกินของตัวเองนั้น
ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจสมัยหิน
สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกันแต่ว่าค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมา...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒



“...เศรษฐกิจ พอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีก แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า
Sufficiency Economy ภาษาไทยก็ต่อว่าไม่มี Sufficiency Economy
แต่ว่าเป็นคำใหม่ของเราก็ได้ ก็หมายความว่า ประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว
ทำอะไรด้วยความอะลุ้มอล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจ
พอเพียงแล้วทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติยากที่สุด...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๓



“...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสม
กับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาทขึ้นไป
เป็น ๒ หมื่น ๓ หมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียง
ไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือ ทำเป็น Self-Sufficiency
มันไม่ใช่ความหมาย ไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิด คือ
เป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดู TV
ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อ TV ดู เขาต้องการดูเพื่อสนุกสนาน
ในหมู่บ้านไกล ๆ ที่ฉันไป เขามี TV ดู แต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า
แต่ถ้า Sufficiency นั้น มี TV เขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือน
คนไม่มีสตางค์ไปตัด Suit และยังใส่ Necktie Versace อันนี้ก็เกินไป...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทาน ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข
วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔



การประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแนวพระราชดำริ เรื่อง
เศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้นั้น
กระชับและชัดเจนยิ่ง
นอกจากนี้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อ
ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ (กปร.) ยังได้กล่าวสรุป
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ดังนี้
“เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง
(Self-Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐาน
ทางด้านเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน
คือให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ
ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว”
จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย
มีความหมายที่ ชัดเจน ไม่ยากแก่การรับรู้และการนำไปปฏิบัติ ดังจะเห็น
เป็นรูปธรรมที่ปรากฏชัดเจนในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ที่เกิดผลสำเร็จแล้วมากมาย

พระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

        ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาอยู่ในท่ามกลางมหาสมาคมพร้อมพรั่งด้วย
บุคคลจากทุกสถาบันในชาติตลอดจนประชาชนชาวไทย ขอขอบใจในคำอวยพร
และการเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ที่ทุกคนตั้งใจจัดให้ข้าพเจ้าเป็นพิเศษ

 

พระราชดำรัสและพระบรมราชาโชวาท

      Posted in Uncategorized  by aekphop on September 3rd, 2009เกือบ 60 ปี แห่งการเสวยราชสมบัติของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสไว้มากมาย ที่ทรงแสดงความห่วงใยต่อปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทรงตักเตือนคนไทย รัฐบาลไทยในเรื่องการดำรงชีวิต ความซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ ดังตัวอย่างที่ได้อัญเชิญมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ คือ
      การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้น โดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นได้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดย
      ไม่ใช้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุล ในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด”ลองพิจารณาพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบ CEO
“… ท่านจะต้องปกครอง คำว่า ปกครองนี้ก็หมาย ความว่า จัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชนมีความเรียบร้อย มีความสามารถที่จะดำเนินชีวิตดีอย่างดี เพื่อให้ดำเนินชีวิตอย่างนั้นจะต้องมีความรู้ในทั้งหลักวิชาต่าง ๆ … ทั้งวิชาการปกครอง โดยหลักวิชาของรัฐศาสตร์ มีหลักวิชาของนิติศาสตร์ นอกจากนั้นก็มีหลักวิชาของการทำมาหากิน และหลักวิชาทางเศรษฐศาสตร์ 3 อย่างนี้ทิ้งไม่ได้ มีความรู้เก่งในทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ หรือ ก็แต่ละท่าน หรือแต่ละคนที่เป็นผู้มีความรู้ก็หากินได้ ทำมาหากินได้ หมายความว่า ทำงานและได้ค่าตอบแทน แต่ถ้าหากว่าท่านทำอยู่คนเดียว คือว่า ในด้านหลักวิชาเหล่านี้ก็จะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ในด้านอื่น และด้านความรู้ที่สำคัญก็คือ เกษตรศาสตร์ … เศรษฐศาสตร์…”
“… ผู้ว่าฯ หมายความว่า ว่าราชการ ราชการก็เป็นการของราชา…”
“… ท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด CEO เมื่อ CEO ตามที่เข้าใจเป็นผู้ที่สั่งการทำอะไรทำให้ได้ผล แต่เขาใช้ CEO เพราะนึกถึงการค้า ผู้ที่เป็น CEO จะทำเงินได้สร้างบริษัท แต่ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ไม่ใช่ทำเงินสร้างบริษัท ทำความเจริญสำหรับพื้นที่ ท้องที่ และโดยเฉพาะประชาชนได้มีความก้าวหน้า มีกินมีความสามารถที่จะทำมาหากินได้ อันนี้พูดอย่างนี้ท่านก็คงรู้สึกตัวว่าเป็นโอวาทหนักเหมือนกัน ที่ท่านมีหน้าที่ที่จะทำให้ประชากรในท้องที่มีความเจริญพอที่จะรวยขึ้นได้…”
“… อีกข้อหนึ่งของ CEO ข้อสุดท้ายคือประสานนั้นต้องประสานงานไม่ใช่ประสานงา โดยมากเอะอะอะไรก็ประสาน งา กัน แล้วก็มีการทุจริต ทำอย่างไรจึงจะปราบทุจริตได้ ปราบทุจริตจะว่าเป็นเรื่องของตำรวจ เรื่องของศาล เป็นเรื่องของพระไม่ใช่ เป็นเรื่องของผู้ว่า CEO อย่าให้ข้าราชการ ชั้นไหน ชั้นใด ข้าราชการหรือประชาชนมีการทุจริต ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง ที่เมืองไทยพังมาเพราะว่ามีทุจริต … ตอนนี้ที่บอกว่าเศรษฐกิจกำลังขึ้น ทุจริตกำลังขึ้น … 10 ปีเมืองไทยน่าจะเจริญ ทุจริตก็จะเจริญ เพราะฉะนั้นท่านต้องห้ามทุจริตไม่ให้ขึ้น แล้วท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ที่มีประสิทธิภาพ… ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ต้องเป็น คนที่สุจริต ทุจริตไม่ได้ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่ง ให้มีอันเป็น พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็น ถ้าไม่ทุจริต ถ้าสุจริตและมีความตั้งใจในธรรม ขอให้ต่ออายุได้ถึง 100 ปี ถ้าอายุมากแล้วก็แข็งแรง แล้วสุจริตประเทศไทยจะรอดพ้นอันตรายอย่างมาก …”

 “… ผู้ว่าฯ หมายความว่า ว่าราชการ ราชการก็เป็นการของราชา…”“… ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอดแต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้ารักษาความ พออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยอดได้ ประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้กำลังตก กำลังแย่กำลังยุ่ง เพราะแสวงหาความยิ่งยวดทั้งในอำนาจ ทั้งในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทางอุตสาหกรรม ทางลัทธิ ฉะนั้นถ้าทุกท่าน…ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกับดีพอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวร ที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล…”

ลองพิจารณาพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบ CEO

“… ท่านจะต้องปกครอง คำว่า ปกครองนี้ก็หมาย ความว่า จัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชนมีความเรียบร้อย มีความสามารถที่จะดำเนินชีวิตดีอย่างดี เพื่อให้ดำเนินชีวิตอย่างนั้นจะต้องมีความรู้ในทั้งหลักวิชาต่าง ๆ … ทั้งวิชาการปกครอง โดยหลักวิชาของรัฐศาสตร์ มีหลักวิชาของนิติศาสตร์ นอกจากนั้นก็มีหลักวิชาของการทำมาหากิน และหลักวิชาทางเศรษฐศาสตร์ 3 อย่างนี้ทิ้งไม่ได้ มีความรู้เก่งในทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ หรือ ก็แต่ละท่าน หรือแต่ละคนที่เป็นผู้มีความรู้ก็หากินได้ ทำมาหากินได้ หมายความว่า ทำงานและได้ค่าตอบแทน แต่ถ้าหากว่าท่านทำอยู่คนเดียว คือว่า ในด้านหลักวิชาเหล่านี้ก็จะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ในด้านอื่น และด้านความรู้ที่สำคัญก็คือ เกษตรศาสตร์ … เศรษฐศาสตร์…”

“… ท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด CEO เมื่อ CEO ตามที่เข้าใจเป็นผู้ที่สั่งการทำอะไรทำให้ได้ผล แต่เขาใช้ CEO เพราะนึกถึงการค้า ผู้ที่เป็น CEO จะทำเงินได้สร้างบริษัท แต่ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ไม่ใช่ทำเงินสร้างบริษัท ทำความเจริญสำหรับพื้นที่ ท้องที่ และโดยเฉพาะประชาชนได้มีความก้าวหน้า มีกินมีความสามารถที่จะทำมาหากินได้ อันนี้พูดอย่างนี้ท่านก็คงรู้สึกตัวว่าเป็นโอวาทหนักเหมือนกัน ที่ท่านมีหน้าที่ที่จะทำให้ประชากรในท้องที่มีความเจริญพอที่จะรวยขึ้นได้…”

“… อีกข้อหนึ่งของ CEO ข้อสุดท้ายคือประสานนั้นต้องประสานงานไม่ใช่ประสานงา โดยมากเอะอะอะไรก็ประสาน งา กัน แล้วก็มีการทุจริต ทำอย่างไรจึงจะปราบทุจริตได้ ปราบทุจริตจะว่าเป็นเรื่องของตำรวจ เรื่องของศาล เป็นเรื่องของพระไม่ใช่ เป็นเรื่องของผู้ว่า CEO อย่าให้ข้าราชการ ชั้นไหน ชั้นใด ข้าราชการหรือประชาชนมีการทุจริต ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง ที่เมืองไทยพังมาเพราะว่ามีทุจริต … ตอนนี้ที่บอกว่าเศรษฐกิจกำลังขึ้น ทุจริตกำลังขึ้น … 10 ปีเมืองไทยน่าจะเจริญ ทุจริตก็จะเจริญ เพราะฉะนั้นท่านต้องห้ามทุจริตไม่ให้ขึ้น แล้วท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ที่มีประสิทธิภาพ… ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ต้องเป็น คนที่สุจริต ทุจริตไม่ได้ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่ง ให้มีอันเป็น พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็น ถ้าไม่ทุจริต ถ้าสุจริตและมีความตั้งใจในธรรม ขอให้ต่ออายุได้ถึง 100 ปี ถ้าอายุมากแล้วก็แข็งแรง แล้วสุจริตประเทศไทยจะรอดพ้นอันตรายอย่างมาก …”


พระราชดำรัสในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2535 ( วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2535)

  … คนไทย แม้จะมีนิสัยรักความสะดวกสบาย และ มักทำตามใจตัวกันเป็นปรกติ แต่ในส่วนลึก ก็เป็นคนมีเหตุผล มีวินัย มีใจจริงและความสำนึกในชาติบ้านเมืองอยู่ด้วยกันแทบทุกตัวคน เราจึงรวมกันอยู่ได้เหนียวแน่น มีชาติมีประเทศอันตั้งมั่นเป็นอิสรเสรีมาช้านาน ทั้งสามารถสร้าง สรรค์ความดีความเจริญต่าง ๆ ไว้เป็นสมบัติของชาติมากมาย ปัจจุบันนี้ รู้สึกว่าบ้านเมืองมีปัญหาและความขัดข้องเกิด ขึ้นไม่สร่างซาเกือบทุกวงการ เป็นเครื่องบ่งบอกชัดเจนว่า ถึงเวลาแล้ว ที่ทุกคนทุกฝ่ายจะต้องลดความถือดีและการทำตามใจตัวลง แล้วหันมาหาเหตุผล ความถูกต้องและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมกันอย่างจริงจัง เพื่อกำจัดอคติ และสร้างเสริมความเมตตาสามัคคีในกันและกัน จักได้สามารถร่วมกันเร่งรัดปฏิบัติสรรพกิจการงานให้ประสานสอดคล้อง และปรองดองเกื้อกูลกัน ให้สัมฤทธิ์ประโยชน์สูงสุดในการธำรงรักษาอิสรภาพ อธิปไตย และความเป็นไทย ให้ยั่งยืน มั่นคงอยู่ตลอดไป…”
คุณวินี เชียงเถียร ได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง วาทวิเคราะห์พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ( พ. ศ. 2493 - 2542) ไว้อย่างน่าสนใจ กล่าวคือ

พระราชดำรัสในช่วง พ . ศ. 2493 – 2499 ทรงเน้นเรื่องคุณธรรม ความสามัคคี และความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของการเมืองขณะนั้นที่มีการแย่งชิงอำนาจกัน

พระราชดำรัสในช่วง พ . ศ. 2500 – 2516 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ครองอำนาจจนถึง 14 ตุลาคม 2516 และถูกคอมมิวนิสต์แทรกซึมบ่อนทำลาย ทำให้ทรงเน้นเรื่องคุณธรรม ทรงกล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ การต้อนรับพระราชอาคันตุกะ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ และ ภัยคอมมิวนิสต์ ดังตัวอย่างพระราชดำรัสในวโรกาสวันขึ้นปีใหม่ พ . ศ. 2509 ว่า


พระราชดำรัสช่วง พ . ศ. 2519 – 2531 ก็ยังทรงเน้นเรื่องคุณธรรม เน้นความสามัคคี การทำดีและเน้นการพัฒนา เน้นการแก้ปัญหาน้ำท่วม ธนาคารข้าวและธนาคารโคกระบือ การช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน การพัฒนาชนบท
พระราชดำรัสในช่วง พ . ศ. 2531 – 2542 ก็ยังทรงเน้นเรื่องคุณธรรม ความสามัคคี การละเว้นการทุจริต ความเพียร ความอดทน และเรื่องการพัฒนาประเทศ เน้นปัญหาน้ำท่วมและโครงการพระราชดำริต่าง ๆ

  การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา
เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้น โดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นได้รวดเร็วแต่ประการเดียว
โดยไม่ใช้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุล ในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด”

4 ธ.ค. 2553

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซสท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ซึ่งภายหลังทั้งสองพระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินีและพระเชษฐา คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กับพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี Royal Family Picture
          เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๑ ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เสด็จกลับประเทศไทย ประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาในวันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกทิวงคต ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเจริญพระชนมายุได้ไม่ถึงสองพรรษา และเมื่อมีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา ได้เสด็จเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์ เดอี กรุงเทพฯ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๗๖ จึงเสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินีและพระเชษฐา เพื่อทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียนเมียร์มองต์ ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมันและภาษาอังกฤษ จากนั้นทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ณ เอกอล นูแวล เดอ ลา ชืออิส โรมองต์ เมืองแชลลี ชือ โลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จาก ยิมนาส กลาชีค กังโดนาล แห่งเมืองโลซานน์ แล้วทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือกศึกษาในแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์
          ในพุทธศักราช ๒๔๗๗ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๘ และได้โดยเสด็จพระราชดำเนิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในพุทธ>ศักราช ๒๔๘๑ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เป็นการชั่วคราว แล้วเสด็จกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๘๘ จึงโดยเสด็จพระราชดำเนิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ครั้งนี้ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
Royal Family Picture           ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงต้องทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม ในครั้งนี้ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและวิชารัฐศาสตร์ แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม
          ระหว่างที่ประทับศึกษาอยู่ในต่างประเทศนั้น ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (พระนามเดิม หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศ ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้านักขัตรมงคล เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓ และในพุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่าพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) และหม่อมหลวงบัว (สนิทวงศ์) กิติยากร ต่อมาทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
          ในพุทธศักราช ๒๔๙๓ เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายน ปีเดียวกัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
          ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม และในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี Royal Family Picture
          หลังจากเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงรักษาสุขภาพ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตามที่คณะแพทย์ได้ถวายคำแนะนำ และระหว่างที่ประทับรักษาพระองค์อยู่นั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์แรก คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งประสูติ ณ โรงพยาบาลมองซัวซีส์ เมืองโลซานน์ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๔ และเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรกเจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นทรงย้ายที่ประทับไปประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และที่พระที่นั่งอัมพรสถานนี้เอง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลพระราชโอรสและพระราชธิดาอีกสามพระองค์ คือ
  • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๔๙๘
  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐
          ในพุทธศักราช ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาที่จะทรงผนวช ด้วยทรงพระราชดำริว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ที่ประชาชนของพระองค์เลื่อมใสกันอยู่เป็นจำนวนมาก ยิ่งทรงมีโอกาสคุ้นเคยกับหลักการและทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน ระหว่างที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ก็ทรงมีพระราชศรัทธายิ่งขึ้น เพราะได้ประจักษ์แก่พระราชหฤทัยว่า ธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยเหตุผลและสัจจธรรม แม้ผู้ใดจะวิจารณ์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ก็จะไม่เสื่อมถอยในความนิยมเชื่อถือ ทั้งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบูรพการีตามคตินิยมอีกโสตหนึ่งด้วย จึงได้เสด็จออกทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ เสร็จการพระราชพิธีทรงผนวชแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ตลอดเวลา ๑๕ วันที่ทรงผนวชอยู่ และจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างเรียบร้อย เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปีเดียวกันนั้นเอง และในพุทธศักราช ๒๕๐๐ ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนถึงปัจจุบัน

พระราชกรณียกิจด้านต่าง


พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

          โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประมุขของประเทศ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ หลายประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ เพื่อเป็นการเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศไทย กับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้น ที่มีความสัมพันธ์อันดีอยู่แล้ว ให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทรงนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทย ไปยังประเทศต่างๆ นั้นด้วย ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างไกลมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมหาศาล และประเทศต่างๆ ที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเจริญทางพระราชไมตรีนั้น มีดังนี้
    H.M.K picture 
  • เวียดนามใต้ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ ธันวาคม ๒๕๐๒ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศครั้งแรก ในรัชกาลปัจจุบัน
  • สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ ๘-๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓
  • สหภาพพม่า ระหว่างวันที่ ๒-๕ มีนาคม ๒๕๐๓
  • สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๑๔ มิถุนายน - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๐๓
  • อังกฤษ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๓ กรกฎาคม ๒๕๐๓
  • สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ ๒๕ กรกฎาคม - ๒ สิงหาคม ๒๕๐๓
  • สาธารณรัฐโปรตุเกส ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ สิงหาคม ๒๕๐๓
  • สวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๒ช-๓๑ สิงหาคม ๒๕๐๓
  • เดนมาร์ก ระหว่างวันที่ ๖-๙ กันยายน ๒๕๐๓
  • นอร์เวย์ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ กันยายน ๒๕๐๓
  • สวีเดน ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ กันยายน ๒๕๐๓
  • สาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ ๒๘ กันยายน - ๑ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • นครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • เบลเยี่ยม ระหว่างวันที่ ๔-๗ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๔ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • ลักเซมเบอร์ก ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • เนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๗ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • สเปน ระหว่างวันที่ ๓-๘ พฤศจิกายน ๒๕๐๓
  • สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๒ มีนาคม ๒๕๐๕
  • สหพันธรัฐมลายา ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๗ มิถุนายน ๒๕๐๕
  • นิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๖ สิงหาคม ๒๕๐๕
  • ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๒๖ สิงหาคม - ๑๒ กันยายน ๒๕๐๕
  • ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๒๗ พฤษภาคม - ๕ มิถุนายน ๒๕๐๖
  • สาธารณรัฐจีน ระหว่างวันที่ ๕-๘ มิถุนายน ๒๕๐๖
  • สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ ๙-๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๖
  • สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน - ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗
  • สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๘ สิงหาคม ๒๕๐๙ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง
  • สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน - ๒ ตุลาคม ๒๕๐๙ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง
  • อิหร่าน ระหว่างวันที่ ๒๓-๓๐ เมษายน ๒๕๑๐
  • สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๖-๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๐ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง
  • แคนาดา ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๐
  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ ๘-๙ เมษายน ๒๕๓๗
          เมื่อเสร็จสิ้นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ แล้ว ก็ได้ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ที่เป็นประมุขของประเทศต่างๆ ที่เสด็จและเดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นการตอบแทน และบรรดาพระราชอาคันตุกะทั้งหลาย ต่างก็ประทับใจในพระราชวงศ์ของไทย ตลอดจนประชาชนชาวไทยอย่างทั่วหน้า


พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่า การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนนั้น เป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษา หาความรู้ต่อในวิชาการชั้นสูงในประเทศต่างๆ โดยไม่มีเงื่อนไขข้อผูกพันแต่ประการใด เพื่อที่จะได้นำความรู้นั้นๆ กลับมาใช้พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
          H.M.K picture นอกเหนือไปจากนี้แล้ว ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้น สารานุกรมชุดนี้ มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสารานุกรมชุดอื่นๆ ที่ได้เคยจัดพิมพ์มาแล้ว กล่าวคือ เป็นสารานุกรมอเนกประสงค์ที่บรรจุเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นสาระไว้ครบทุกแขนงวิชา โดยจัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนแต่ละรุ่น ตลอดจนผู้ใหญ่ที่มีความสนใจ สามารถที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ได้ตามความเหมาะสมของพื้นฐานความรู้ ของแต่ละคน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชา การอุทิศเวลาและความรู้ เพื่อสนองพระราชดำริ โดยร่วมกันเขียนเรื่องต่างๆ ขึ้น แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
          ทรงก่อตั้งกองทุนนวฤกษ์ ในมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนริเริ่มในการก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท สำหรับที่จะสงเคราะห์เด็กยากจนและกำพร้า ให้ได้มีสถานที่สำหรับศึกษาเล่าเรียน โดยอาราธนาพระภิกษุเป็นครูสอนในวิชาสามัญต่างๆ ที่ไม่ได้ขัดต่อพระธรรมวินัย ตลอดจนช่วยอบรมศีลธรรมแก่เด็กนักเรียน ทั้งนี้ เป็นพระราชประสงค์ที่จะให้เด็กนักเรียน ได้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการศึกษาควบคู่กันไป อันจะทำให้เยาวชนของชาติ นอกจากจะมีความรู้ด้านวิชาการแล้ว ยังจะทำให้มีจิตใจที่ดี ที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติต่อไป ในอนาคต
          โรงเรียนร่มเกล้า ก็เป็นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในหลายจังหวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริ ที่จะให้ทหารออกไปปฏิบัติภารกิจในท้องที่ทุรกันดาร ได้ทำประโยชน์ต่อชุมชน และมีส่วนช่วยเหลือประชาชนในด้านการศึกษา ตามโอกาสอันควร โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ทหารจัดสร้างโรงเรียนขึ้นในจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสถานศึกษาสำหรับเยาวชน และยังเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารที่ไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่นั้นๆ กับราษฎรเจ้าของท้องที่อีกโสตหนึ่งด้วย ซึ่งในการดำเนินงานจัดสร้างโรงเรียน ทางฝ่ายทหารได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และฝ่ายศึกษาธิการ เพื่อเลือกสถานที่ตั้งโรงเรียนที่เหมาะสมกับความจำเป็นที่สุด ซึ่งปรากฎว่าราษฎรในท้องที่ที่มีการสร้างโรงเรียน ได้พากันร่วมอุทิศแรงกายช่วยในการก่อสร้าง ตลอดจนอุทิศทุนทรัพย์สมทบเป็นทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงเรียน เพื่อเป็นการโดยเสด็จพระราชกุศลด้วย และเมื่อการก่อสร้างโรงเรียนแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงเรียนเหล่านั้น พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า โรงเรียนร่มเกล้า ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา



พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์


           ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้ป่วยไข้ได้ทันที
          นอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร ได้เดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟัน แก่เด็กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากแพทย์ทั่วทุกภาค โดยให้การบริการรักษาโรคฟัน โดยไม่คิดมูลค่าในการแพทย์เคลื่อนที่
          สำหรับการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมวัดทุกแห่ง ซึ่งนับเป็นศูนย์กลางของชุมชนในชนบท โดยจะพระราชทานกล่องยาแก่วัด เพื่อพระภิกษุใช้เมื่อเกิดอาพาธ และเพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรผู้ป่วยเจ็บในหมู่บ้านนั้นๆ ส่วนในการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมหน่วยทหาร ตำรวจ และอาสาสมัคร ที่ออกไปตั้งฐานปฏิบัติการในท้องที่ทุรกันดาร ก็จะพระราชทานสิ่งของที่จำเป็นต่างๆ รวมทั้งยารักษาโรคสำหรับใช้ในหมู่เจ้าหน้าที่ และใช้ในการรักษาพยาบาล และเพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรในท้องที่ ที่มาขอความช่วยเหลือ อันจะทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปราม และประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติการ ได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
          ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นผู้แนะนำสถานที่และร่วมเดินทางไปด้วย สำหรับราษฎรผู้เจ็บป่วยรายที่มีอาการหนัก หรือจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจรักษาเพิ่มเติมนั้น ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จพระราชดำเนิน ทำการบันทึกรายชื่อ อาชีพ ที่อยู่ และอาการโดยละเอียด โดยตรวจสอบความถูกต้องกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และมีสำเนาให้รับทราบเพื่อติดต่อประสานงานต่อไป ในการพิจารณาส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อ ตามความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจ