พระอัจริยภาพด้านต่างๆ

พระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยของพระองค์แสดงชัดในด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านภาษา พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทในวโรกาสต่างๆ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังเช่นพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่นักธุรกิจและนักหนังสือพิมพ์ในนิวยอร์กเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปประเทศสหรัฐอเมริการ เมื่อ พ.ศ.2510 ดังนี้
“… การแพร่ข่าวโดยขาดความระมัดระวังหรือแม้แต่คำพูดต่างๆ เพียงนิดเดียวก็สามารถจะทำลายงานที่ผู้มีความปรารถนาดีทั้งหลายพยายามสร้างไว้ด้วยความยากลำบากเป็นเวลาแรมปี... เหมือนฟองอากาศนิดเดียว ถ้าเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดก็จะสามารถปลิดชีวิตคนได้ทั้งคน และน้ำตาลหวานๆ ก้อนเล็กนิดเดียว ถ้าใส่ลงในถังน้ำมันรถ ก็จะทำให้เครื่องจักรดีๆ ของรถเสียได้โดยสิ้นเชิง...
จากพระราชดำรัสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุปมา คำพูดเล็กๆ น้อยๆ เปรียเทียบกับ ฟองน้ำ และ น้ำตาล ว่าสามารถทำลายสิ่งที่สร้างมาด้วยความยากลำบากได้ เช่นเดียวกันกับฟองอากาศและน้ำตาลแม้จะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แต่ถ้าฟองอากาศเข้าไปอยู่ในเส้นเลือด และน้ำตาลเข้าไปอยู่ในเครื่องยนต์แล้วทั้งเครื่องยนต์และเส้นเลือดก็จะถูกทำลายลงได้
นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาภาษาละติน ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องศัพท์ ที่มาของศัพท์ และรากศัพท์ อีกทั้งยังสนพระทัยและค้นคว้าเกี่ยวกับศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต เพราะทรงเข้าพระทัยว่าหากเข้าใจศัพท์และที่มาของศัพท์แล้วจะช่วยให้เข้าใจความหมายของธรรมะได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงใช้ภาษาในด้านการพระราชนิพนธ์ร้อยกรองคำอวยพรปีใหม่มอบแด่พสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศซึ่ง ส.ค.ส.ฉบับแรกปี พ.ศ. 2529 เพื่อเป็น ส.ค.ส.พระราชทานปี พ.ศ. 2530 โดยพระราชทานให้แก่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องที่ทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท โดยทรงพริ้นต์จากคอมพิวเตอร์และส่งแฟกซ์พระราชทานไปยังหน่วยงานโดยทั่วถึงกัน ส.ค.ส.พระราชทานแต่ละปี จะประมวลจากเหตุการณ์บ้านเมืองในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ด้วยถ้อยคำที่สั้นๆ แต่มากด้วยคุณค่าทรงเน้นในการเตือนและให้กำลังใจในการต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ซึ่ง ส.ค.ส.ส่วนใหญ่ล้วนเป็นสีขาว ดำ ทั้งสิ้น
ด้านวรรณกรรม ผลงานด้านวรรณกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีทั้งพระราชนิพนธ์ทรงแปลและพระราชนิพนธ์ทรงแต่งหลายเรื่องด้วยกันพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชานุกิจรัชกาลที่ 8 ” ตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิศกุล ซึ่งพระราชนิพนธ์เรื่องนี้อยู่ในเรื่อง พระราชานุกิจ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชกุศล 100 วัน พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ วันที่ 20 กันยายน 2489
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลและเรียบเรียงบทความจากวารสารต่างๆ หลายเรื่อง
 


•  ภาพแบบเหมือนจริง (Realistic)
•  ภาพแบบลัทธิเอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์ (Expressionism)
•  ภาพแบบนามธรรม (Abstractionism)
ทคนิคที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในการเขียนภาพคือ เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ ภาพเขียนเหมือนจริงที่ทรงเขียนส่วนใหญ่จะเป็นภาพพระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และทูลกระหม่อมทุกพระองค์ นอกจากภาพดังกล่าวแล้ว พระองค์ท่านยังทรงเขียนภาพอื่นๆ อีก อาทิเช่น ภาพสมเด็จพระบรมราชชนก ภาพครอบครัว เป็นต้น
ประติมากรรมฝีพระหัตถ์ ศิลปกรรมสาขาประติมากรรมเป็นศิลปะสาขาหนึ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความสนพระราชหฤทัยยิ่ง พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทั้งการปั้น การหล่อ และการทำแม่พิมพ์ โดยมีนายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เป็นผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรมนี้
งานประติมากรรมฝีพระหัตถ์ที่เป็นประติมากรรมลอยตัว (Round Relief) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้แก่
•  รูปปั้นผู้หญิงเปลือยคุกเข่า ความสูง 9 นิ้ว ทรงปั้นด้วยดินน้ำมัน
•  พระรูปปั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ครึ่งพระองค์ ความสูง 12 นิ้ว ทรงปั้นด้วยดินน้ำมัน นอกจากงานประติมากรรมดังที่กล่าวมาแล้วนี้พระองค์ท่านยังทรงสนพระราชหฤทัยในการสร้างพระพุทธรูป ซึ่งพระพุทธรูปองค์แรกที่ทรงให้สร้างคือ พระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. ซึ่งสร้างขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยมีพระราชประสงค์ให้แก้ไขพุทธลักษณะจากการสร้างครั้งที่ 1 ของวัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากพระองค์ไม่ทรงพอพระราชหฤทัยในพระพุทธลักษณะที่เป็นแบบเดิม โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ เป็นผู้ปั้น และมอบหมายให้นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวพระราชดำริว่า พระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. ควรมีลักษณะสง่างาม เข้มแข็ง แต่ไม่แข็งกระด้าง และให้มีความรู้สึกที่ว่าเป็นที่พึ่งเหล่าพสกนิกร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ จึงได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบพระพุทธรูป โดยส่วนฐานของพระพุทธรูปจะเป็นกลีบบัว ใต้กลีบบัวเป็นขาสิงห์ ที่ผ้าทิพย์ประดิษฐานอักษรพระปรมาภิไธยย่อว่า ภ.ป.ร. และที่ฐานรองพุทธบัลลังก์มีอักษรบาลีจารึกว่า ทยยชาติยา สามคคิย์ สติสญชนเนนโภชิสิย รกขนุติ และบรรทัดถัดมาเป็นอักษรไทยจารึกว่า คนไทยจะรักษาความเป็นไทย อยู่ได้ด้วยมีสติสำนึกในความสามัคคี ฐานด้านหลังจารึกว่าเสด็จพระราชดำเนินในพิธีหล่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ”
พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่พระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้สร้างคือ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปฎิมาแบบพิเศษ ปางมารวิชัยโดยให้แกะแบบแม่พิมพ์ด้วยหินลับมีดแล้วหล่อเป็นปูนปลาสเตอร์ ต่อมาภายหลังได้ทำแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้งและทรงบรรจุผงศักดิ์สิทธิ์จาก
ปูชนียสถานต่างๆ ทั่วประเทศภายในพระพิมพ์ พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้บรรจุพระพิมพิ์ขนาด 2 x3 เซนติเมตร ไว้ที่ฐานบัวหงายด้านหน้าขององค์พระพุทธนวราชบพิตร พร้อมทั้งทรงพระราชทานแก่ข้าราชการ ข้าราชบริพารและบุคคลต่างๆ เพื่อไว้สักกะบูชาโดยให้ผู้รับพระราชทานนำไปปิดทองที่ด้านหลังองค์พระพิมพ์ และให้พระบรมราโชวาทโดยสรุปว่า ให้ทำดีเหมือนกับการปิดทองหลังองค์พระพิมพ์ โดยเรียกว่า พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน
หัตถกรรมฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในงานช่างมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ พระองค์ท่านทรงประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เองเช่น เครื่องร่อนและเรือรบจำลอง เป็นต้น พระองค์ท่านทรงโปรดกีฬาเรือใบเป็นอย่างยิ่งและประกอบกับพระองค์ท่านทรงสนพระราชหฤทัยในงานช่างจึงโปรดที่จะต่อเรือใบด้วยพระองค์เอง เรือใบฝีพระหัตถ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงต่อมีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่
•  เรือใบประเภทเอ็นเตอร์ไพรส์ (International Enterprise Class) ซึ่งเป็นเรือใบลำแรกที่ทรงต่อเอง เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2507 และพระราชทานชื่อเรือว่า เรือปะแตน และลำต่อๆ มามีชื่อว่า เรือเอจี
•  เรือใบประเภทโอ.เค (International O.K. Class) เป็นเรือใบที่พระบาทสมเด็นพระเจ้าอยู่หัวทรงต่อเมื่อ พ.ศ. 2508 และพระราชทานชื่อเรือว่า เรือวฤกษ์ ลำดับต่อๆ มามีชื่อว่าเรือเวคา1 , เรือเวคา 2 และเรือเวคา 3 เป็นต้น
•  เรือใบประเภทม็อธ (International Moth Class) เรือประเภทนี้เป็นเรือที่กำหนดความยาวตัวเรือไม่เกิน 11 ฟุต เนื้อที่ใบไม่เกิน 35 ตารางฟุต เรือม็อธที่ทรงออกแบบและทรงต่อด้วยพระองค์เองในระหว่าง พ.ศ. 2509-2510 มีด้วยกัน 3 แบบ คือ
•  เรือใบมด ขนาดเรือยาว 11 ฟุต กว้าง 4 ฟุต 7 นิ้ว เสาเดี่ยว เนื้อที่ใบ 72 ตารางฟุต คุณสมบัติคือ มีราคาถูก เบา แล่นได้เร็ว เก็บรักษาได้ง่าย
•  เรือใบซุปเปอร์มด เป็นเรือที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเรือมด คือมีขนาดยาว 11 ฟุต เท่าเรือมด แต่กว้าง 4 ฟุต 11 นิ้ว ซึ่งมีความเร็วมากขึ้น สู้คลื่นลมได้ดีและมีความปลอดภัยสูง เป็นเรือที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้แข่งขันกีฬาเรือใบทุกครั้งที่มีการแข่งขันในประเทศไทย
•  เรือใบไมโครมด เป็นเรือใบที่ทรงออกแบบให้มีขนาดเล็กกว่าเรือใบมด คือมีความยาว 7 ฟุต 9 นิ้ว กว้าง 3 ฟุต 4 นิ้ว เป็นเรือที่เหมาะสำหรับคนร่างเล็กหรือเด็ก มีวิธีการสร้างที่ง่าย สะดวก และประหยัด
เรือใบลำสุดท้ายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบและต่อด้วยพระองค์เองคือเรือโมก ” (Moke) ซึ่งเป็นเรือที่ทรงทดลองสร้างโดยทรงออกแบบผสมผสานระหว่างเรือ โอ.เค. และเรือซุปเปอร์มด คือ ออกแบบให้มีขนาดใหญ่กว่าเรือซุปเปอร์มด และให้มีขนาดใกล้เคียงกับเรือโอ.เค. แต่ใช้อุปกรณ์เสาและใบเรือของเรือ โอ.เค.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในการถ่ายภาพอย่างจริงจังมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงศึกษาและฝึกฝนการถ่ายภาพด้วยพระองค์เอง จนเป็นนักถ่ายภาพที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง พระองค์ทรงเชี่ยวชาญแม้กระทั่งการล้างฟิล์ม การอัดขยายภาพทั้งภาพขาวดำและภาพสี โดยทรงสร้างห้องมืด (Dark Room) ขึ้นในบริเวณชั้นล่างของตึกที่ทำการสถานีวิทยุ อ.ส. ด้วยพระราชประสงค์ที่จะทรง สร้างภาพ ให้เป็นศิลปะอย่างถูกต้องและรวดเร็วด้วยพระองค์เอง  
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ปรากฏในหนังสือพิมพ์สแตนดาร์ดของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ในปี พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสด้วยพระอารมณ์ขันแก่ผู้ใกล้ชิดผู้หนึ่งถึงการเป็นช่างภาพอาชีพของพระองค์ว่า ฉันเป็นกษัตริย์ก็จริง แต่ฉันก็ยังมีอาชีพเป็นช่างภาพของหนังสือพิมพ์สแตนดาร์ด ได้เงินเดือนเดือนละ 100 บาท ตั้งหลายปีมาแล้ว จนบัดนี้ก็ยังไม่เห็นเขาขึ้นเงินเดือนให้สักทีเขาก็คงถวายเดือนละ 100 บาท อยู่เรื่อยมา ”
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระองค์ส่วนใหญ่จะเป็นภาพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และทูลกระหม่อมทุกพระองค์ อีกทั้งเป็นรูปที่พระองค์ทรงเสด็จราชการตามสถานที่ต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการทรงงาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยดนตรีมาตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงฝึกฝนวิชาดนตรีอย่างแท้จริง คือการเขียนโน๊ตและบรรเลงแบบคลาสสิก แนวดนตรีที่ทรงสนพระราชหฤทัยคือแนวแจ๊ส (Jazz) ทรงศึกษาประวัตินักดนตรีที่มีชื่อเสียงและทรงเปรียบเทียบฝีมือการเล่นดนตรีต่างๆ จากแผ่นเสียงสไตล์ที่โปรด เช่น สไตล์การเป่าโซปราโน แซกโซโฟนของชิดนี่ เบเซ่ (Sydney Bechet) ออโต แซกโซโฟน ของจอห์นนี่ ฮอดเจส (Johny Hodges) เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีเป็นพิเศษ เครื่องดนตรีที่โปรดคือ เครื่องเป่าแทบทุกชนิด เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต เป็นต้น พระองค์ทรงเล่นดนตรีร่วมกับวงดนตรีไม่ว่าวงดนตรีนั้นจะมีแนวการเล่นแบบใด โดยทรงเล่นได้กับทั้งวงไทยและต่างประเทศ ตอนเดี่ยว (Solo) ทรงสามารถใช้
ปฏิภาณเล่นเดี่ยวได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งเรียกว่า การเดี่ยวแบบ “Solo Adlib” ซึ่งถือว่ายากเพราะต้องแต่งเนื้อขึ้นโดยทันที ทรงสามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างสนุกสนานกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น เบนนี่ กู๊ดแมน (Benny Goodman) แจ๊ก ทีการ์เด้น (Jack Teagarden) เป็นต้น นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลงทั้งสิ้น 47 เพลง โดยเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองก่อน และใส่คำร้องภาษาอังกฤษในภายหลัง มีทั้งสิ้น 5 เพลง คือ “Echo”, “Still on My Mind”, “Old Fashioned Melody”, “No Moon”, “Dream Island”
โดยเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์คำร้องก่อน และใส่ทำนองภายหลังคือ ความฝันอันสูงสุด และ เราสู้ เพลงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เฉพาะทำนองเพลง และให้ผู้อื่นประพันธ์เนื้อเพลง มีจำนวน 42 เพลง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดกีฬามาตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงโปรดกีฬาเทนนิส หมากรุก จักรยาน สกี สเกตน้ำแข็ง และฮอกกี้น้ำแข็ง เป็นต้น ต่อมาพระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบ ทรงต่อเรือใบด้วยพระองค์เองที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และเมื่อ 19 เมษายน พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเรือใบประเภท โอ.เค ขนาด 13 ฟุต ชื่อ เวคา จากหน้าพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีข้นธ์ ข้ามอ่าวไทยไปยังอ่าวสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ได้ทรงนำธง ราชนาวิกโยธิน ปักเหนือยอดก้อนหินใหญ่ที่ชายหาดของอ่าวเตยงาม แล้วได้ทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลาจารึกข้อความถวายสดุดีแด่พระองค์ท่าน
ดังพระบรมราโววาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษากับประชาชนทุกช่วงวัย แต่ทรงเน้นหนักที่เยาวชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ซึ่งแบ่งหลักการทำคำอธิบายเรื่องต่างๆ แต่ละเรื่องเป็นสามระดับคือ
•  ระดับเด็กเล็กอ่าน
•  ระดับเด็กรุ่นกลางอ่าน
•  ระดับเด็กรุ่นใหญ่รวมถึงผู้ใหญ่อ่าน

ในปัจจุบันได้มีการจัดพิมพ์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวม 29 เล่ม
ในด้านทุนการศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งกองทุนการศึกษาขึ้นตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพราะพระองค์ทรางทราบดีว่าเด็กไทยมีความสามารถในการเรียน แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ดังพระราชดำรัสแก่สมาชิกสโมสรไลออนส์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2513 ว่า
“… การให้การศึกษาแก่คนนี้เป็นปัญหาของคนทุกคน ไม่ใช่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย ระหว่างผู้ที่มีความรู้ ผู้ที่มีเจตนาดีต่อสังคม และผู้มีทุนทรัพย์...
ดังนั้น พระองค์ทรงตั้งกองทุนพระราชทานให้แก่เยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียน ซึ่งแต่ละทุนมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
       •  ทุนมูลนิธิ ภูมิพลก่อเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 100 , 000 บาท ให้แก่มหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ เพื่อพระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผู้เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ ต่อมาได้พระราชทานทุนขยายไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆ และได้ตราระเบียบลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2511 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
     • 
ทุนประเภทช่วยเหลือการศึกษา
     • 
ทุนประเภทช่วยเหลือการทำปริญญานิพนธ์หรือการวิจัย
       •  ทุนมูลนิธิ อานันทมหิดล ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2498 โดยพระราชทานทุนนี้แก่นักศึกษาแพทย์ตามรอยพระบาทสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เพื่อให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเมื่อสำเร็จแล้วให้มาทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เรียนมา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จดทะเบียนตราสารทุนอานันทมหิดล เป็น มูลนิธิอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2502
ปัจจุบันมูลนิธิ อานันทมหิดลได้พระราชทานทุนแก่นักศึกษาสาขาต่างๆ คือ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ วารสารศาสตร์ และอักษรศาสตร์
       •  ทุนเล่าเรียนหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ริเริ่มพระราชทาน ทุนเล่าเรียนหลวง ” (King's Scholarship) ให้นักเรียนไปเรียต่อต่างประเทศต่อเนื่องกันมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองาจึงยุติไปใน พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชประสงค์ให้ฟื้นฟูทุนนี้ขึ้น โดยพระราชทานแก่นักเรียนที่สอบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการได้คะแนนดีเยี่ยมปีละ 9 ทุน คือ แผนกศิลปะ 3 ทุน แผนกวิทยาศาสตร์ 3 ทุน และแผนกทั่วไป 3 ทุน
       •  ทุนการศึกษาสังเคราะห์ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ก่อตั้ง มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อสงเคราะห์เด็กที่ครอบครัวประสบวาตภัยภาคใต้ และขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู รวมทั้งช่วยเหลือราษฏรผู้ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศ
       •  ทุนมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัย ใน พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างสถาบันวิจัยค้นคว้าเรื่องโรคเรื้อน ณ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากว่าขณะนั้นโรคเรื้อนได้ระบาดในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกพยายามกำจัดโรคเรื้อนให้หมดไปภายใน 10 ปี แต่ต้องมีสถาบันค้นคว้าและวิจัย ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานเงินทุนในการก่อตั้งสถาบัน และเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธีเปิดสถาบันเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2503 พระราชทานนามว่า ราชประชาสมาสัย ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้ทรงรับมูลนิธินี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีข้อแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะต้องจัดตั้งโรงเรียนสำหรับบุตรของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อน ซึ่งแยกจากบิดามารดาตั้งแต่แรกเกิดดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานถึงการก่อตั้งโรงเรียน และพระราชดำรัสในพิธีเปิดโรงเรียนราชประชาสมาสัย เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2507
       •  ทุนนวฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาริเริ่มก่อตั้ง ทุนนวฤกษ์ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์แต่มีผลการเรียนดี ความประพฤติเรียบร้อย ให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับต่างๆ รวมทั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และสมทบจากผู้บริจาคทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศล ก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อสังเคราะห์เด็กยากจนและเด็กกำพร้าให้มีสถานศึกษาเล่าเรียน
       •  ทุนการศึกษาพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะกรณี        •  ทุนพระราชทานแก่นักเรียนชาวเขา
       • 
ทุนพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะสถานศึกษา
       • 
รางวัลพระราชทานแก่นักเรียนและโรงเรียนดีเด่น
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยศึกษาหลายด้าน อาทิ วิทยาศาสตร์ การเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วพระองค์ทรงสนพระทัยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกเหนือจากพระอัจฉริยภาพด้านอื่นๆ แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงสนพระราชหฤทัยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีกด้วย พระองค์ทรงประดิษฐ์และสร้างสรรค์งานต่างๆ มากมายเนื่องจากตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรเป็นประจำ เมื่อพระองค์พบเจอปัญหาที่ราษฎรประสบพระองค์ก็ทรงศึกษาและประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ เพื่อนำมาช่วยเหลือบรรเทาปัญหาต่างๆ ซึ่งพระองค์ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการและมูลนิธิต่างๆ ดังนี้
1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ลักษณะของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในระยะแรกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
• 
โครงการลักษณะที่พระองค์ทรงทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง เป็นการส่วนพระองค์ และนำผลสรุปพระราชทานเผยแพร่แก่เกษตรกร
• 
โครงที่พระองค์ทรงเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาหลักของเกษตรกร ระยะแรกโครงการยังจำกัดอยู่ในพื้นที่รอบๆ ที่ประทับในส่วนภูมิภาค ต่อมาเริ่มขยายตัวสู่สังคมเกษตรในพื้นที่ต่างๆ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีอยู่มากมายหลายสาขา หลายประเภท ในระยะแรกมีชื่อ เรียกแตกต่างกันไปดังนี้คือ
• 
โครงการตามพระราชประสงค์
• 
โครงการหลวง
• 
โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์
• 
โครงการตามพระราชดำริ 2 . มูลนิธิชัยพัฒนา ความเป็นมา เป็นที่ประจักษ์แจ้งชัดในความรู้สึก และสำนึกของประชาชนชาวไทยทุกถ้วนหน้าว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งดวงใจและความจงรักภักดีอันยิ่งใหญ่ของพสกนิกรชาวไทยทั้งชาติ ด้วยเหตุที่ได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา เวลา และพระราชทรัพย์ ตลอดจนได้อุทิศพระองค์ในการทรงงาน และประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือสงเคราะห์ประชาชนผู้ยากไร้ตลอดมา เป็นระยะเวลาที่ยาวนานและต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าบังเกิดความร่มเย็น มีความอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศชาติเป็นส่วนรวม
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการดำเนินงานพัฒนาช่วยเหลือประชาชนตามระบบราชการนั้นบางครั้งบางโอกาสจำเป็นต้องดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการกำหนดไว้ตามขั้นตอนต่างๆ ทำให้โครงการบางโครงการอาจถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขบางประการ เช่น กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณ ฯลฯ จนเป็นเหตุให้การดำเนินงานนั้นๆ ไม่สอดคล้องหรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำการโดยเร็ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้จัดตั้ง มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนในรูปของการดำเนินการพัฒนาในด้านต่างๆ ในกรณีที่การดำเนินการนั้นๆ ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขดังที่ได้กล่าวมาแล้ว หรือดำเนินงานในลักษณะอื่นใดที่จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็ว และไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องเงื่อนไขของเวลา
กระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานครได้รับจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาให้เป็นนิติบุคคลตามเลขทะเบียนลำดับที่ 3975 ตั้งแต่ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2531 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 105 ตอนที่ 109 วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
3. ทฤษฎีใหม่ การขุดสระน้ำประจำไร่นา
“… หลักสำคัญจะต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูกเพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้..
จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้างต้นนี้ได้พระราชทานแก่ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และคณะฯ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2529 ณ สวนจิตรลดา คงสามารถเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าพระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญเรื่องทรัพยากรน้ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะน้ำนั้นจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าในด้านอุปโภคหรือบริโภค ตลอดจนการเพาะปลูก
ตลอดระยะเวลานานกว่า 40 ปี พระองค์ทรงทุ่มเทพระสติปัญญาตรากตรำพระวรกายโดยมิได้ย่อท้อต่อความเหนื่อยยากแม้แต่น้อยท่ามกลางปัญหาอันสลับซับซ้อนนี้ พระองค์ทรงหาหนทางโดยใช้หลักการหรือทฤษฎีปฏิบัติอย่างง่ายๆ เข้าแก้ไขสิ่งที่ยากอยู่เสมอ เพราะทุกหนทางที่จะแก้ไขนั้นจะต้องเป็นหนทางที่ชาวบ้านทำได้ แต่ที่สำคัญในการแก้ไขปัญา พระองค์ทรงมีพระบรมราโชบายให้ราษฏรเข้ามามีส่วนร่วม มีส่วนรับผิดชอบด้วยตนเองด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้ราษฏรมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ หวงแหน และแบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฏีใหม่ ในการแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตรให้ราษฏรและได้ใช้พื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนา อันเป็นมูลนิธิส่วนพระองค์ทำการทดสอบจนประสบความสำเร็จมาแล้ว ที่วัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี แนวทางในการแก้ไขของพระองค์นั้นแสนจะง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็ลึกซึ้งยิ่งนักเพราะเป็นหนทางธรรมชาติ
ในแง่สภาพแวดล้อมของเกษตรกรหากพิจารณาอันดับแรกพระองค์ทรงมีพระราชดำริว่าธรรมชาตินั้นได้ปรับสร้างความสมดุลระหว่างธรรมชาติและวิถีชีวิตของมนุษย์อยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าสภาพภูมิประเทศได้ปรับตัวเองให้เป็นลักษณะหนอง คลอง บึง เพื่อเก็บกักน้ำยามน้ำหลากมาในฤดูฝนอยู่แล้ว ซึ่งทำให้มีน้ำใช้ในฤดูแล้งแต่มนุษย์กลับละเลยไม่ดูแลธรรมชาติอันล้ำค่านี้
นอกจากไม่ดูแลแล้ว มนุษย์มีความโลภและทำลายโครงสร้างของธรรมชาติด้วย หนอง คลอง บึง จึงอยู่ในสภาพตื้นเขินจนใช้การไม่ได้หลายส่วนถูกยึดครองโดยไม่ชอบธรรมผลสุดท้ายสภาพความทุกข์ยากก็เกิดขึ้น ยามน้ำหลากก็ไหลท่วมเพราะไม่มีหนอง คลอง บึง คอยรองรับเพื่อผ่อนคลายความรุนแรงของน้ำ และพอพ้นหน้าน้ำก็จะเกิดภาวะแห้งแล้งไม่มีน้ำเก็บกักไว้ใช้ ดังนั้น พระองค์จึงได้มีพระบรมราโชบายให้ทำการบูรณะฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เหล่านี้ทั่วประเทศ
พระองค์จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้พิจารณาจัดหาน้ำ เพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกของราษฏร โดยดำเนินการขุดสระเก็บน้ำตามทฤษฎีใหม่ เหมือนกับที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการที่โครงการพัฒนาพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าพื้นที่ครอบครองขนาดเล็กและมีสภาพแห้งแล้งสามารถที่จะใช้เกิดประโยชน์อย่างได้ผล และสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก การประมง และการเลี้ยงสัตว์ให้ได้ประโยชน์เต็มที่ และเพื่อเป็นโครงการตัวอย่างให้ราษฏรบริเวณใกล้เคียงสามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองเป็นการเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่ครอบครัว